กราบเรียน ฯพณฯ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ด้วยความเคารพ
สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำอันเป็นการรุกรานยึดครองของประเทศอาร์เมเนียและเป็นการกระทำที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องด้วย ทั้งนี้เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะตัดแบ่งดินแดนของประเทศอาเซอร์ไบจานที่เป็นรัฐอธิปไตย ออกเป็นส่วนย่อย และแยกออกจากกัน ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องส่งหนังสือร้องเรียนฉบับนี้ ไปยังฯพณฯ
โดยยึดมั่นในหลักการและบรรทัดฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศ อาเซอร์ไบจานจึงได้ตกลงยินยอมให้องค์การเพื่อความมั่นคงและการร่วมมือกันในยุโรป (OSCE) เป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอันนองเลือดด้วยสันติวิธี ซึ่งสาธารณรัฐอาร์เมเนียเป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่าประเทศอาเซอร์ไบจาน ได้นำกรอบแนวคิดแห่งความความหมั่นคงปลอดภัย และความร่วมมือกันในทางระหว่างประเทศมาใช้ และเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิและพันธกรณีของประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศดังกล่าวนี้ ในระหว่างกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งที่ยุ่งยาก และ. ใช้เวลายาวนานครั้งนี้ โดยการแสดงเจตนาประสงค์ที่จะแก้ความขัดแย้งและระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ใช้ความยืดหยุ่น และ ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ อย่างมากที่สุด รัฐบาลอาเซอร์ไบจานก็ดำเนินการคิดหาวิธีที่จะหยุดยั้งการนองเลือดอย่างเต็มความสามารถ เพื่อเปิดเส้นทางออกไปสู่การเจรจาที่มีพื้นฐานอันมั่นคง แต่ว่าการที่ว่าประเทศอาร์เมเนียมีการกระทำละเมิดอย่างรุนแรงในภาระผูกพันของตัวเองที่มีต่อประชาคมโลก และประเทศ อาเซอร์ไบจานนั่นเอง การทำเช่นนี้เป็นการทำลายความพยายามของพวกข้าพเจั้าในการสร้างสันติภาพ
ถึงแม้ว่า นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแห่งองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือแห่งยุโรป (OSCE) ลงมติอนุมัติให้เรียกประชุมที่กรุงมินสก์ (Minsk) ได้ผ่านเวลากว่า ๑ ปีแล้ว ก็ตาม แต่ปัจจุบันนี้แนวความคิดนั้น จะยังดูห่างไกลจากความเป็นจริงไปมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถ้าหากว่า ๑ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายอาเซอร์ไบจาน ก็ได้พูดคุยถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปลดปล่อยเมืองซุซา และ ลาชินเท่านั้น คือเป็นวิธีเดียวที่อาจจะเป็นไปได้ที่จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายกลับสู่สภาวะ ซึ่งเคยมีในวันลงมติอนุมัติให้เรียกประชุมโดยคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจะจึงเปิดโอกาสให้ออกไปสู่การประชุมที่กรุงมินสก์ (Minsk) ก็ได้ แต่สำหรับวันนี้ มีดินแดนของอาเซอร์ไบจานมากกว่า ร้อยละ ๑๗ ที่ถูกยึดครองโดยอาร์เมเนียผู้รุกรานมาแล้ว เขาได้ครอบครองอาณาเขตทั้งหมดของคาราบัคที่เป็นภูเขา เขตลาชิน (ภาคใต้ถูกครอบครองในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1992 ส่วนภาคเหนือ ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1993) และเขตเคลบาดซารส์กิย ตลอดจนบรรดาหมู่บ้านในสาธารณรัฐที่ปกครองตนเองนาคีเชวาน และบรรดาหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตที่เป็นของอาเซอร์ไบจาน เช่น เขตคาซาคห์สกิย เขตฟิซุลินสกิย เขตซานคิลันสกิย และเขตอากดามสกิยด้วย โดยพวกเขาได้ยึดครองหมู่บ้านทั้งหมดเอาไว้ ๕๐๓ หมู่บ้าน ส่วนผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่น มีจำนวนรวม ๕๖๗ ๐๐๐ คน
โดยเริ่มต้นจากการรุกรานด้วยวิธีทางการเมือง ซึ่งปรากฏตัวอยู่ในการทำการตัดสินใจอันเป็นที่ทรยศหักหลัง ที่จะเชื่อมโยงดินแดนนากอร์โน-คาราบัค (Nagorno-Karabakh) เข้าเป็นดินแดนใต้การปกครองอย่างเป็นทางการของอาร์เมเนีย ต่อจากนั้น เขาก็ก้าวเข้าสู่การส่งจารชน และผู้ก่อการร้าย ตลอดจนการขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่สำหรับวันนี้ ประเทดอาร์เมเนียกำลังปฏิบัติการทางทหารที่มีขนาดใหญ่มากในดินแดนที่เป็นของประเทศอาเซอร์ไบจานไปแล้ว โดยเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง และ ข้อมติต่าง ๆ ขององค์การเพื่อความมั่นคงและการร่วมมือกันในยุโรป และ องค์การสหประชาชาติ รวมทั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ ๘๒๒ ซึ่งเป็นประเด็นที่เรียกร้องอย่างชัดเจนให้ถอนกำลังทหารที่ทำการยึดครองดินแดนออกจากอาเซอร์ไบจาน แต่ว่าความพยายามขององค์การเพื่อความมั่นคงและการร่วมมือกันในยุโรปที่จะปฏิบัติตามมติดังกล่าวถูกปิดกั้นอย่างเต็มที่ โดยการปฏิเสธจากฝ่ายอาร์เมเนียอย่างสิ้นเชิงที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องที่ชอบธรรมของผู้เป็นตัวกลางนั้น ยิ่งกว่าไปนั้น เขาได้เสนอข้อกำหนดที่ยอมรับไม่ได้เลย ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสาธารณรัฐอาร์เมเนียนั้น คือ การเดินทางมาเยือนภูมิภาคของ นาย มาริโอ ราฟฟาเอลลี ในครั้งล่าสุด ก็เช่นเดียวกันกับการเยือนครั้งก่อน มันไม่ได้ให้เหตุผลใด ๆ ที่จะคาดหวังไว้ได้ว่าจะมีการดำเนินเพื่อให้เป็นไปตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในประเด็นดังกล่าวได้โดยเร็วที่สุด และการหยุดยั้งการนองเลือดที่รอคอยมานานด้วย
ข้ออ้างทุกประการร้อยแปดของฝ่ายอาร์เมเนียที่ว่า กลุ่มกองกำลังที่ติดอาวุธอาร์เมเนีย ที่ดำเนินการทางทหารในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค มักจะไม่ยอมเชื่อฟังสาธารณรัฐอาร์เมเนียนั้น ถือว่าเป็นข้ออ้างที่ไร้เหตุผลอย่างเด็ดขาด เป็นที่ทราบกันดีว่า สาธารณรัฐอาร์เมเนียนั่นเอง ที่เป็นผู้จัดหาอาวุธหนัก เครื่องกระสุน และ กำลังพลทั้งหมด รวมทั้งเป็นผู้ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติการทางทหารโดยตรง โดยผ่านเขตลาชินที่ถูกผนวกรวมแล้ว
หลังจากที่นาย มาริโอ ราฟฟาเอลลี พร้อมด้วยคณะได้เดินทางออกจากภูมิภาคแล้วกระบวนการตัดสินใจแก้ปัญหาข้อพิพาทก็หยุดชะงักลง ดังนั้นฝ่ายอาร์เมเนียจึงฉวยโอกาสจากสถานการณ์แบบนี้แหละ และเริ่มทำการโจมตีทางทหารขนาดใหญ่ต่อประเทศอาเซอร์ไบจานอีกครั้งหนึ่ง ในระหว่างการบุกโจมตีครั้งนี้ กองกำลังทหารของอาร์เมเนียได้ยึดครองเมืองอากดาม การกระทำที่ทรยศหักหลังแบบนี้ ได้โจมตีอย่างหนักหน่วงต่อกระบวนการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้นมา ก่อนหน้านี้รัฐบาลอาเซอร์ไบจานได้เคยเตือนคณะมนตรีความมั่นคงว่า การที่มีการถ่วงกระบวนการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพให้ช้าลง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดสถานการณ์อันตราย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่นั้นมีอยู่จริง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันนี้ มันเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะเข้ามาแทรก แซงเหตุปะทะกันครั้งนี้อย่างเร่งด่วน บนพื้นฐานอำนาจหน้าที่ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากกฎบัตรของสหประชาชาตินั่นเอง
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อยับยั้งผู้ที่ทำการรุกราน ยุติการนองเลือดและปลดปล่อยดินแดนของอาเซอร์ไบจานที่ถูกครอบครองมาด้วย
เนื่องจากตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าจึงเรียนไปยังประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ให้เรียกประชุมคณะมนตรีความมั่นคงในทันที
นาย เฮย์ดาร์ อาลิเยฟ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
ประธานของรัฐสภาสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
แปลจากภาษารัสเซีย มาเป็นภาษาไทย เรียบเรียงจากหนังสือพิมพ์ \"กรรมกร บากู\" ฉบับลงวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1993.